ดื่มไวน์ช่วยกระตุ้นสมองได้จริง ยืนยันจากนักประสาทวิทยา

หลายคนเมื่อนึกถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยในการกระตุ้นการทำงานของสมอง ส่วนใหญ่ก็มักจะนึกถึงกิจกรรมที่จะต้องใช้ในการฝึกการคิด การแก้ปัญหา การลงมือเขียนอ่าน หรือเล่นเกมลับสมอง อาจหาโจทย์ทางวิชาคณิตศาสตร์มาแก้ เพื่อเป็นการให้สมองได้ใช้ความคิดนั่นเอง แต่อาจจะยังไม่ได้รู้ว่า อีกหนึ่งวิธีในการกระตุ้นการทำงานของสมอง คือ การดื่มไวน์ ได้อีกด้วย หลายคนอาจจะงงว่าการดื่มไวน์จะช่วยกระตุ้นสมองได้อย่างไร เพราะว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลทำให้ลดประสิทธิภาพการทำงานของสมองและสมรรถนะของผู้ดื่ม แต่เรื่องนี้เรามีคำตอบให้กับทุกท่านได้เข้าใจกัน

ไวน์กระตุ้นสมอง งานวิจัยจากหนังสือของนักประสาทวิทยา

ดื่มไวน์กระตุ้นสมอง

แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เรื่องเล่นหรือเรื่องที่แต่งขึ้นแต่อย่างใด แต่เป็นข้อเท็จจริงจากนักประสาทวิทยา Gordon Shepherd สังกัด Yale School of Medicine โดยได้ออกหนังสือเล่มใหม่ที่มีชื่อว่า Neuroenology: How the Brain Creates the Taste of Wine หลังจากที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยสรรพคุณของไวน์ในการกระตุ้นสมองได้ ซึ่งภายในหนังสือเล่มนี้ ยังได้เขียนถึงประสาทวิทยา ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดื่มไวน์ทั้งเล่มอย่างเจาะลึก ตั้งแต่วิธีที่มนุษย์รับรู้ถึงรสชาติของไวน์ ไปจนถึงการทำปฏิกิริยาทางประสาทวิทยาของไวน์กับสมองของมนุษย์ 

หลักการทำงานที่เข้าไปกระตุ้นความคิดของสมอง

นอกจากนี้ Gordon Shepherd ยังได้ระบุไว้ในหนังสือด้วยว่าการดื่มไวน์หนึ่งแก้ว จะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นให้สมองของเราในส่วนที่ไม่ค่อยได้ถูกใช้งาน ให้นำมากลับมาใช้งานได้มากยิ่งขึ้น และยังได้มากกว่ากิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่มนุษย์จะสามารถทำได้อีกด้วย เหตุผลมาจากการดื่มไวน์เพื่อลิ้มรสชาติ หรือการสูดดมกลิ่นไวน์ จะมีส่วนในการเชื่อมโยงการควบคุมกล้ามเนื้อส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม เขายังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า โมเลกุลของไวน์นั้นไม่ได้มีรสชาติในการไปกระตุ้นสมองได้โดยตรง เพียงแต่สมองของเราที่เมื่อดื่มไวน์ไปแล้ว จะกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของรสชาติที่ส่งมาจากประสาทสัมผัสนั่นเอง

ส่งผลต่อความจำและการรับรู้ได้อีกด้วย

นับว่าเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมากที่โมเลกุลของไวน์นั้น สามารถเข้าไปมีส่วนในการกระตุ้นต่อมรับรส และรับลูกกลิ่นของร่างกายมนุษย์ได้ ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงหนึ่งรสชาติเท่านั้น แต่อาจทำให้เราได้รับรู้รสชาติเป็นหลายร้อยหลายพันรสและกลิ่น ซึ่งการกระตุ้นจากการรับรู้กลิ่นและรสนี้เอง จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาทางการสัมผัสและอารมณ์ภายในสมองของมนุษย์ กระตุ้นการทำงานของสมองได้อย่างไม่น่าเชื่อ 

จนเมื่อไวน์มีการกระตุ้นประสาทสัมผัส และอารมณ์ของเราแล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงกับการกระตุ้นสมองส่วนที่ใช้ในการดูแลเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของเรา ทั้งด้านการจดจำ ความจำ และโครงสร้างต่างๆ ในการแสดงออกของพฤติกรรมความพึงพอใจ ดังนั้นรสชาติของไวน์ก็เลยไม่ได้อยู่ที่ ไวน์แก้วนั้นไปซะทีเดียว เพราะยังขึ้นอยู่กับสมองของแต่ละคนที่ใช้ในการรับรู้รสชาติของไวน์แต่ละชนิดนั้นด้วย อีกทั้งยังรวมถึงปัจจัยที่แตกต่าง อย่างเพศอายุและพันธุกรรมที่อยู่ในน้ำลายของแต่ละคน เรียกได้ว่า ไวน์ตัวเดียวกัน แต่คนชิมต่างกัน ก็ให้รสชาติที่ต่างกันได้

การควบคุมปริมาณการดื่มเป็นเรื่องที่สำคัญ

แต่อย่างไรก็ตาม การกระตุ้นสมองในรูปแบบนี้ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะดื่มไวน์ในปริมาณมากเท่าไหร่ก็ได้ หรือทุกครั้งที่เราดื่มก็จะยิ่งกระตุ้นการรับรู้รสชาติของสมองของเรามันได้ทั้งหมด เพราะยิ่งหากเราดื่มมากยิ่งมีผลเสียแน่นอน วิธีการที่ดีที่สุดคือการดื่มไวน์แบบจิบๆ เท่านั้น เพราะหากดื่มไวน์มากเกินไป สมองเราก็จะคุ้นเคยกับสารของไวน์ที่เข้าไปกระตุ้นให้เกิดกระบวนการของสมองอยู่บ่อยครั้ง จนเราชินและสุดท้ายก็จะไม่เกิดกระบวนการใดๆ ที่เรารับรู้ได้ในที่สุดนั่นเอง

ดังนั้นการดื่มแบบจิบๆ ทีละปริมาณน้อยๆ จะให้ผลดีกว่าทั้งระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งแน่นอนว่าเราก็มักจะได้ยินคำเตือนอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับการดื่มไวน์ว่า หากดื่มในปริมาณที่พอดี ก็จะช่วยส่งเสริมสุขภาพหรือเรื่องอื่นในหลายๆ ด้าน แต่หากดื่มในปริมาณมากก็ไม่ต่างอะไรจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีแต่ผลเสียกับสุขภาพร่างกายนั่นเอง